วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีสงการนต์



เทศกาลสงกรานต์




               คำว่า "สงกรานต์ " มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า การผ่าน หรือ การย้าย โดยการนับระยะเวลาที่เส้นทางของ ดวงอาทิตย์โคจรผ่านกลุ่มดาวฤกษ์จักราศีทั้ง 12 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มดาวราศี เมษ พฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ กันย์ ตุลย์ พิจิก ธนู มังกรกุมภ์ และ มีน การโคจรผ่านกลุ่มดาวแต่ละกลุ่ม จะใช้ระยะเวลา ประมาณ 30 วัน เมื่อ ดวงอาทิตย์โคจรผ่าน กลุ่มดาวเหล่านี้ครบทั้ง 12 กลุ่ม ก็จะได้ระยะเวลา 1 ปี พอดี เป็นวิธีการนับเดือนที่ใช้กันใน ประเทศอินเดีย และกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากอินเดียเช่น ไทย พม่า เขมร ลาว เป็นต้น วันที่ 13 เมษายน เป็นวัน"มหาสงกรานต์" หรือ วันเริ่มต้นปีใหม่ ทั้งนี้เป็นเพราะเป็นจากช่วงเวลาที่ดวง อาทิตย์โคจรผ่านจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษนั้น  โลกโคจรเป็นมุมฉากกับดวงอาทิตย์ จึงมีกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันพอดีวันสงกรานต์เป็นวันทำบุญใหญ่ประจำปี มี 3 วันคือ  วันมหาสงกรานต์หรือวันส่งท้ายปีเก่า(วันที่ 13 เมษายน)  วันกลางหรือวันเนา (วันที่ 14 เมษายน) วันขึ้นปีใหม่ หรือวันเถลิงศก (วันที่ 15 เมษายน)


ตำนานเกี่ยวกับนางสงกรานต์



   เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆ นางสงกรานต์มีชื่อดังนี้ วันอาทิตย์ ชื่อนางทุงษ วันจันทร์ชื่อนางโคราค วันอังคารชื่อนางรากษส วันพุธชื่อนางมณฑา วันพฤหัสชื่อนางกิริณี วันศุกร์ชื่อนางกิมิทา วันเสาร์ชื่อนางมโหทร นางสงกรานต์เป็นธิดาของท้าวมหาสงกรานต์ หรือ ท้าวกบิลพรหม มีหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันดูแลเศียรของท้าวกบิลพรหมซึ่งประดิษฐานอยู่ในพานแว่นฟ้า เนื่องจากท้าวกบิลพรหมแพ้พนันการตอบปัญหาแก่ธรรมบาลกุมารจึงต้องตัดเศียรของตนบูชาแก่ธรรมบาลกุมาร ก่อนจะตัดเศียรท้าวกบิลพรหมาได้เรียกธิดาทั้ง 7 ซึ่งเป็นนางฟ้าบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาให้เอาพานมารองรับเนื่องจากเศียรของท้าวกบิลพรหมเป็นที่รวมแห่งความร้อนทั้งปวง ถ้าวางไว้บนแผ่นดินไฟจะไหม้โลกถ้าโยนขึ้น ไปบนอากาศฝนจะแล้ง ถ้าทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้งธิดาทั้ง 7 จึงผลัดเปลี่ยนกันถือพานรองเศียรของท้าวกบิล พรหมไว้ คนละ 1 ปี


คุณค่าและความสำคัญ
  ประเพณีสงกรานต์ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติ มาแต่โบราณช่วงวัน สงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสนา ทำให้สมาชิกของครอบครัวได้มีโอกาสมาอยู่ร่วมกันเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตเช่น ลูกหลานนำสิ่งของมา เยี่ยมเยียน และรดน้ำขอพรจาก บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย รวมทั้งแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้วด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ การสร้างความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน ได้แก่ การร่วมกันทำบุญให้ทาน การก่อพระเจดีย์ทรายและเป็น การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การเล่นสาดน้ำเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงร่วมกัน นอกจากนี้ ยังสร้างความรู้สึกผูก พันกลมเกลียวต่อบุคคลในสังคมเดียวกัน และสร้างความรู้สึกหวงแหนในสาธารณสมบัติของสังคม และสิ่งแวดล้อมโดยการช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอาราม ตลอดจนอาคารสถานที่สถานที่ต่างๆ


กิจกรรมที่ควรอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริม
 ประเพณีสงกรานต์มีกิจกรรมที่ควรอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติ ดังนี้
• การเตรียมเครื่องนุ่งห่มชุดใหม่ที่สะอาดเรียบร้อย เพื่อไหว้บิดา มารดา หรือญาติผู้ใหญ่
• การทำความสะอาดบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย บริเวณต่างๆ ในชุมชนที่อยู่ เช่น วัดวาอารามที่จะใช้เป็นสถานที่สำหรับ ทำบุญและที่สาธารณะต่างๆ
• การทำบุญตักบาตรตอนเช้า หรือนำอาหารไปเลี้ยงพระที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว
• การก่อพระเจดีย์ทราย โดยขนทรายเข้าวัด แล้วก่อเป็นรูปเจดีย์หรือสัตว์ต่างๆ ปักธงหลากสี  มีธูปเทียนและดอก ไม้เป็นเครื่องบูชาพระเพื่อให้วัดนำทรายไปใช้ในการก่อสร้างและการสาธารณประโยชน์ต่างๆ
• การทำทาน โดยการปล่อยนก ปล่อยปลา รวมทั้งการฟังเทศน์ ถือศีลปฏิบัติธรรม
• ทำบุญ บังสุกุลอัฐิ และอุทิศส่วนกุศลแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
• การสรงน้ำพระพุทธรูป โดยใช้น้ำสะอาดหรือน้ำผสมน้ำอบไทยลอยด้วยดอกไม้สด เช่น ดอกมะลิ
• สรงน้ำพระภิกษุสามเณรด้วยน้ำสะอาด แล้วถวายผ้าสบงหรือผ้าไตร
• การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่โดยใช้น้ำสะอาด หรือน้ำผสมน้ำอบไทยลอยด้วยดอกไม้สด เช่นดอกมะลิ หรือตามประเพณี นิยมท้องถิ่นนั้นๆ
• การเล่นสาดน้ำโดยใช้น้ำสะอาด และเล่นอย่างสุภาพ เหมาะสมกับกาลเทศะ ไม่ก่อความเดือดร้อนรำคาญ หรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
• การละเล่นรื่นเริงอื่นๆ ตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ

สิ่งที่ควรปฏิบัติ
    เนื่องจากในปัจจุบันการเล่นสงกรานต์มีกิจกรรมบางอย่างที่มีการปฏิบัติในลักษณะที่ไม่เหมาะสม และส่งผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมประเพณีหรือส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งควรจะมีการป้องกันและแก้ไข ได้แก่
1. การเล่นสาดน้ำอย่างรุนแรง เช่น ใช้ปืนฉีดน้ำชนิดอัดแรงลม การใช้น้ำสกปรก หรือของเหลวที่เน่าเหม็น การขว้างปาถุงน้ำแข็ง ทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือสร้างความไม่พอใจ
2. การประแป้ง หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะส่อไปในทางกระทำอนาจาร เช่น ใช้มือลูบคลำใบหน้า หน้าอก หรือสะโพกของสุภาพสตรี
3. การประกวดเทพีสงกรานต์ หรือประกวดในลักษณะอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสม เช่น แต่งกายด้วยชุดว่ายน้ำ ประกวดเทพีสงกรานต์ประเภท 2 เป็นต้น
 สิ่งที่ควรปฏิบัติ
1. การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณค่าและสาระที่สำคัญของประเพณี และรูปแบบกิจกรรม การปฏิบัติที่เหมาะสมตามประเพณี
2. การส่งเสริมการเรียนรู้ประเพณีท้องถิ่นทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน รวมทั้งการศึกษาตามอัธยาศัย


เอกลักษณ์ของประเพณีสงกรานต์แต่ละท้องถิ่น

  สงกรานต์ภาคเหนือ 



    วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทยเหนือถือกันว่าเป็นวันสังขารล่อง (อายุสังขาร) คือ อายุของมนุษย์ ได้ล่วงเลยไปอีก 1 ปี และเป็นวันที่สุดของศักราชเก่า เป็นวันส่งท้ายปีเก่า ตอนเช้ามีการยิงปืนขับไล่เสนียด จัญไร การทำความสะอาดบ้านเรือน การชำระล้างร่างกาย การสระผม แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสะอาด หลังจากนั้น ก็ไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ เรียกว่า "ไปแอ่วปีใหม่" ในวันนี้ เริ่มมีการเล่นรดน้ำกันแล้ว วันรุ่งขึ้นเป็นวันเนาว์ หรือวันดา มีการตระเตรียมข้าวของสำหรับทำบุญ ตอนบ่ายมีการขนทรายจากแม่น้ำนำไปไว้ที่วัดใกล้บ้าน แล้วร่วมกันก่อพระเจดีย์ทรายตามลานวัด ตกแต่งด้วยตุงหรือธงชายอย่างสวยงาม มีการเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนานวันที่สามเป็นวันพญาวันหรือวันเถลิงศกตอนเช้ามีการเตรียมอาหารคาวหวานไปถวายพระ ที่วัด เพื่อทำบุญและนำอาหารไปให้แก่ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือ ตลอดจนนำไปถวายทานเพื่ออุทิศส่วนกุศล แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่าไปทานขันข้าว เสร็จจากการทานขันข้าว ก็มีการถวายทานเจดีย์ทราย ปล่อยนกปล่อยปลาการสรงน้ำพระเจดีย์ การค้ำต้นโพธิ์ภายในวัดและหมู่บ้านการสรงน้ำพระพุทธ รูปสำคัญ คู่บ้านคู่เมืองในวันนี้จะมีการไปดำหัว เพื่อการไป สุมาคารวะ โดยลูกหลานจะพากัน ไปขอขมาลาโทษในความผิดต่างๆที่เคยกระทำต่อญาติผู้ใหญ่ การดำหัวจะทำไปเรื่อยๆ จนถึงวัน ปากปีในวันปากปีจะมีการจัดขบวนแห่ดำหัวซึ่งแต่งกายด้วยชุดพื้นเมือง และมีการจัดต้นดอก (พุ่มดอกไม้) อย่างสวยงามมีการฟ้อนนำขบวนไปดำหัวพระผู้ใหญ่ เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด (เจ้าเมือง) เป็นต้น  ในวันนี้ก็จะมีการดำหัวกู่ คือ การไปดำหัวอนุสาวรีย์บรรพบุรุษของตระกูลของตน  การดำหัวเป็นวัฒนธรรมอันสูงยิ่งของภาคเหนือ เป็นการแสดงออกถึงการขออภัย การให้อภัย การแสดงความเคารพนับถือกันและกันและจิตใจอันเปี่ยมไปด้วยคารวะไมตรี ความรักใคร่สามัคคีในหมู่คณะการเล่น สงกรานต์ที่มีชื่อเสียงของภาคเหนือ ได้แก่ งานประเพณีปี๋ใหม่เมืองจังหวัดเชียงใหม่

สงกรานต์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสานของไทยมีจรรยาปฏิบัติทางสังคมอย่างเคร่งครัดเรียกว่า "ฮีตสิบสอง"ซึ่งมักจะเป็นงานบุญที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเป็นหลัก และในเดือนห้า ก็เป็นการทำบุญสงกรานต์ โดยกำหนดทำกันในวันที่ 13 14 15 เมษายน พิธีการของแต่ละท้องถิ่นอาจแตกต่างกันในข้อปลีกย่อย แต่สิ่งที่ เหมือนกันคือการสรงน้ำพุทธรูปบางที่ใช้ศาลาการเปรียญ แต่บางที่จะจัดสร้างหอสรงแล้วอัญเชิญพระพุทธรูปมา ประดิษฐานในหอสรงเพื่อสรงน้ำในวันสงกรานต์ นอกจากนั้นก็มีการเล่นสาดน้ำกัน หลังจากวันสงกรานต์แล้ว หมู่บ้านบางแห่งมีการแห่ดอกไม้ไปถวายพระที่วัด ในเวลาพลบค่ำก็มีการไหว้พระ รับศีล ฟังเทศน์ฉลองต้นดอกไม้ และหุนเวียนไปตามหมู่บ้านต่างๆ หมู่บ้านที่เป็นเจ้าภาพจะคอยเลี้ยงข้าวปลาอาหารเป็นการสร้างความสามัคคี กันในหมู่คณะ แต่ปัจจุบันนี้มีการทำกันน้อยลง การเล่นสงกรานต์ที่มีชื่อเสียงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ สงกรานต์ในจังหวัดหนองคาย ซึ่งมีการสรงน้ำหลวงพ่อพระใส พระพุทธรูปอันเป็นที่สักการะ ของทั้งประชาชนชาวไทย และประชาชนชาวลาวนอกจากนี้ยัง มีบรรยากาศของการเล่นสงกรานต์สองฟากฝั่งโขง เนื่องจากลาวก็ถือคติการเล่นสงกรานต์เช่นเดียวกันกับไทย

สงกรานต์ภาคกลาง


 ประเพณีสงกรานต์ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ชาวภาคกลางยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณแบ่ง ออกเป็น 3 วัน คือวันที่ 13 14 และ 14 มีการทำบุญตักบาตร การปล่อยนกปล่อยปลา การสรงน้ำพระการก่อพระ เจดีย์ทราย การแห่นางสงกรานต์และรถบุปผชาติ การเล่นสาดน้ำ เช่นเดียวกับภาคอื่นๆการเล่นสงกรานต์ที่น่าสน ใจและมีชื่อเสียง ได้แก่ สงกรานต์กรุงเทพมหานครซึ่งจัดบริเวณถนนข้าวสาร บางลำพู สนามหลวง วัดมหาธาตุ และวัดโพธิ์ สงกรานต์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดขึ้นในบริเวณคุ้มขุนแผน ซึ่งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์พระ นครศรีอยุธยาโดยจำลองบรรยากาศการเล่นสงกรานต์แบบโบราณ นอกจากนี้ยังมีสงกรานต์พระประแดงจังหวัด สมุทรปราการ ซึ่งเป็นการเล่นสงกรานต์ตามแบบประเพณีของชาวไทยเชื้อสายรามัญ ซึ่งมีกิจกรรมบางอย่างแตก ต่างไปจากสงกรานต์ทั่วไป เช่น ขบวนแห่นก แห่ปลาซึ่งเจ้าภาพจะเชิญหญิงสาวมาถือกรงนกและโหลใส่ปลาสำหรับนำไปปล่อย  พิธีการส่งข้าวแช่สงกรานต์  โดยให้หญิงสาวเป็นคู่ๆ ถือภาชนะใส่ข้าวแช่และกับข้าวไปส่งตามวัดต่างๆ แต่เช้าตรู่   การเล่นสะบ้าซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่ดั้งเดิม ในช่วงสงกรานต์นี้ชาวพระประแดงจะแต่งกายตาม แบบดั้งเดิมของชาวรามัญ

สงกรานต์ภาคใต้

    ประเพณีสงกรานต์ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ชาวภาคใต้ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณแบ่ง ออกเป็น 3 วัน คือวันที่ 13 14 และ 14 มีการทำบุญตักบาตร การปล่อยนกปล่อยปลา การสรงน้ำพระการก่อพระเจดีย์ ทราย การแห่นางสงกรานต์และรถบุปผชาติ การเล่นสาดน้ำ เช่นเดียวกับภาคอื่นๆ จังหวัดที่มีการเล่นสงกรานต์ที่ มีชื่อเสียงได้แก่ สงกรานต์หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งจัดขึ้นในพื้นที่สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอ หาดใหญ่ ศาลาไทย หาดสมิหลา อำเภอเมือง โดยเริ่มเล่นสงกรานต์ตั้งแต่วันที่ 6-15 เมษายนและได้รับความสนใจ จากนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งเดินทางมาร่วมเล่นสงกรานต์อย่างสนุกสนาน นอกจาก นี้ยังมีสงกรานต์เมืองนครจังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นการเล่นสงกรานต์ตามแบบดั้งเดิมของชาวนครศรีธรรมราช มีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ จากหอพระออกมาสรงน้ำพิธีตักบาตรบริเวณสนามหน้าเมือง การแห่นางสงกรานต์และ การแห่นางกระดาน เป็นต้น



  

ที่มาhttp://www.moe.go.th/inspec6/songran/songran011.htm


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น