การละเล่นรีรีข้าวสาร
การละเล่นของเด็กไทย คือ การเล่นดั้งเดิมของเด็กและ ผู้ใหญ่ สืบทอดต่อกันมา เล่นเพื่อความบันเทิงใจ มีทั้งมีกติกาและไม่มีกติกา มีบทร้องหรือไม่มีบทร้อง บ้างมีท่าตื่นท่ารำประกอบเพื่อให้งดงาม และสนุกสนานยิ่งขึ้น ผู้เล่นและผู้ชมสนุกร่วมกันการละเล่นของไทย พบหลักฐานว่า มีเพียงกรุงสุโขทัยที่ชัดเจนปรากฏในบทละครเรื่อง "มโนห์รา" ครั้งกรุงศรีอยุธยา คือการเล่นว่าว ปลาลงอวน ลิงชิงเสา การละเล่นไทย แตกต่างไปตามสภาพท้องถิ่น บางอย่างไม่สามารถจะชี้ขาดลงไป ได้ว่าเป็นการละเล่นของเด็กหรือของผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม วิธีการเล่นส่วนใหญ่ก็จะมีคุณค่าในทางเสริมสร้างพลานา ประเทืองปัญญา ช่วยให้อารมณ์แจ่มใส ฝึกจิตใจให้งดงามมีความสามัคคีและสร้างคนดี
การละเล่นของเด็กไทยใช่ไร้ค่า เป็นเอกลักษณ์คงคุณค่ามาช้านาน
บรรพชนสร้างมาเพื่อลูกหลาน อย่าให้กาลมามลายจนหายไป
สอนลูกสอนหลานให้รู้จักเป็น ให้การละเล่นเด็กไทยอยู่คู่ไทย
ช่วยนำเหนี่ยวฟื้นฟูสู่นิสัย สืบต่อให้เอกลักษณ์เราอยู่เนานาน"
สถานที่ : ลานกว้าง
อุปกรณ์ : ไม่มี
เทศกาล : ไม่จำกัด
ผู้เล่น : เล่นได้ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
วิธีเล่น
ผู้เล่น 2 คนยืนหันหน้าเข้าหากันโน้มตัวประสานมือกันเป็นรูปซุ้ม ส่วนผู้อื่นเกาะเอวต่อ ๆ กันตามลำดับ หัวแถวจะพาลอดใต้ซุ้มมือพร้อมกับร้องบทร้องประกอบการเล่น เมื่อร้องถึงประโยคที่ว่า “คอยพานคนข้างหลังไว้” ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้มจะลดมือลงกันคนสุดท้ายไว้ ซึ่งคนสุดท้ายจะถูกคัดออกไปจากแถว แล้วจึงเริ่มต้นเล่นใหม่ทำเช่นนั้นจนหมดคน
เพลงร้องประกอบ
"รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก
เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน
คดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว้"
กติกา
คนที่อยู่ท้ายสุดของแถวจะต้องถูกจับและคัดออกไปทีละคน
ประโยชน์ที่ได้รับ
เพลิดเพลิน จิตใจร่าเริง แจ่มใส ยอมรับในกฎเกณฑ์กติกาในการเล่น ออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้แข็งแรง หัดให้เด็กมีไหวพริบ ปฏิภาณ และรู้จักใช้กลยุทธที่จะให้ตนรอดจากการถูกคล้องตัวไว้ หัดให้เด็กรู้จักทำงานเป็นกลุ่มโดยหัวแถวต้องพยายามพาแถว โดยเฉพาะคนสุดท้ายให้รอดพ้นจากการถูกกักตัวให้ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น